อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
  • ปรับขนาด
    ตัวอักษร
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
แนวทางการจัดการขยะหลอดฟูลออเรสเซนต์ในประเทศไทย
21 มิถุนายน 2559

เกร็ดความรู้เรื่องหลอดฟลูออเรสเซนต์   

หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent lamp) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป ให้แสงสว่างนวลสบายตา มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดแบบมีไส้ (Incandescent lamp) ถึง 8 เท่า และให้ความสว่างมากกว่าในกำลังวัตต์ที่เท่ากัน

 

หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
 

-  หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดตรง  (Straight Fluorescent Lamp)

 

-  หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดวงกลม (Circular Fluorescent Lamp)

 

-  หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดคอมแพกต์ (Compact Fluorescent Lamp)

หลอดฟลูออเรสเซนต์ มีส่วนประกอบหลัก คือ แก้ว ส่วนที่เหลือ ประกอบด้วย ขั้วหลอดทำจากอลูมิเนียม ผงฟอสเฟอร์สำหรับเคลือบผิวหลอดเพื่อการเรืองแสง นอกจากนี้ ภายในหลอดยังบรรจุด้วยสารปรอท จึงทำให้ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว ถือเป็นของเสียอันตราย

 

รูปที่ 1 หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดตรง ที่ไม่แตก สามารถรีไซเคิลได้

-วัสดุจากซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ สามารถรีไซเคิลได้กว่าร้อยละ 90 โดยน้ำหนัก   
  • เศษแก้ว-->หลอมเป็นหลอดแก้วใสสำหรับ ผลิตหลอดฟลูออเรสเซนต์ใหม่  
  • อลูมิเนียม--> เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม หลอมอลูมิเนียม

 

 

 

สารปรอท เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ สามารถระเหยกลายเป็นไอได้ง่าย แขวนลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานาน และสามารถตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน การแตกของหลอดฟลูออเรสเซนต์ จะทำให้ไอปรอทระเหยออกสู่สิ่งแวดล้อม หากสูดดมเข้าไป จะทำให้สารปรอทเข้าไปสะสมในร่างกาย และเกิดผลกระทบต่อระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ นอกจากนี้ การทิ้งซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ รวมไปกับขยะ มูลฝอยทั่วไป จะทำให้สารปรอทที่ปนเปื้อนอยู่ในซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ แพร่กระจายเข้าสู่สิ่งแวดล้อม และหากปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำและเข้าสู่วงจรอาหาร จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างมาก และยากต่อการแก้ไขในภายหลัง

 

 

อันตรายจากซากหลอดฟลูออเรสเซนต์

 
 

หลอดฟลูออเรสเซนต์เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว ถือเป็นของเสียอันตราย เนื่องจากมีสารปรอทเป็นองค์ประกอบ ซึ่งสารปรอทเป็นโลหะหนักที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ สามารถระเหยกลายเป็นไอได้ง่าย และแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นาน  ซึ่งสารปรอทจากซากหลอดฟลูออเรสเซนต์สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ได้โดยวิธีการต่อไปนี้

 
  1.  เมื่อเกิดการแตกหัก  ไอปรอทที่บรรจุอยู่ภายในหลอดฟลูออเรสเซนต์ จะระเหยออกสู่สิ่งแวดล้อม  และเข้าสู่ร่างกายได้โดยการหายใจ
  2.  หากทิ้งรวมไปกับขยะมูลฝอยทั่วไป  ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์มักถูกบดอัดรวมไปใน รถเก็บขนขยะ ส่งผลให้ไอปรอทแพร่กระจาย ออกสู่สิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายต่อพนักงานเก็บขนขยะ และผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง จากนั้นซากหลอดฟลูออเรสเซนต์จะถูกนำไปฝังกลบแบบไม่มีการป้องกันที่ถูกต้อง  เมื่อฝนตก น้ำฝนที่ชะผ่านกองซากที่เป็นของเสียอันตราย จะทำให้สารพิษไหลปนเปื้อนเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ  และดูดซึมเข้าสู่สัตว์น้ำและพืชผัก เมื่อคนรับประทานสัตว์น้ำหรือพืชผักที่ปนเปื้อนสารพิษ ก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้
 

พิษจากสารปรอท

ในปี พ.ศ. 2499  ( ค.ศ.1956 )   มีการตรวจพบโรคที่เกิดจากพิษของสารปรอท(Mercury)ในประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า “โรคมินามาตะ” (Minamata Diseases) เกิดจากคนรับประทานอาหารจำพวกปลาและหอยจาก อ่าวมินามาตะ ซึ่งมีสารปรอทเจือปนอยู่ เนื่องจากโรงงานผลิตพลาสติกแห่งหนึ่ง ปล่อยน้ำทิ้งที่มีสารเมธิลเมอคิวรี่ (Methylmercury) ลงสู่อ่าวเป็นเวลาหลายปี  ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 3,000 คน  ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการชาตามมือเท้าแขนขาและริมฝีปาก จากนั้นจะเริ่มมีอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย พูดไม่ชัด ฟังไม่ได้ยิน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ควบคุมตัวเองไม่ได้ และเป็นอัมพาตในที่สุด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม